ค่าคอมมิชชั่นคืออะไร?
ค่าคอมมิชชั่น (Commission) คือค่าตอบแทนที่พนักงานขายได้รับจากการปิดการขายหรือทำยอดขายได้ตรงตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้ โดยปกติแล้ว ค่าคอมมิชชั่นของพนักงานขาย จะถูกคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายหรือกำไรสุทธิ และมักจะมีการจ่ายเพิ่มให้จากฐานของเงินเดือนเพื่อจูงใจให้พนักงานมุ่งเน้นการทำยอดหรือปิดการขายให้ได้มากที่สุด ค่าคอมมิชชั่นจึงเป็นมากกว่าค่าตอบแทนธรรมดา เพราะเปรียบเหมือน “แรงผลักดัน” ที่ทำให้พนักงานมีเป้าหมายชัดเจน และเร่งสร้างผลงานที่สามารถวัดผลได้จริง
อ่านบทความที่น่าสนใจ : Incentive และ Commission คืออะไร? และมีวิธีคำนวณอย่างไร

ค่าคอมมิชชั่นมีกี่รูปแบบ?
การคิดค่าคอมมิชชั่นนั้นมีหลายรูปแบบ และมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีคิดค่า Commission ที่พบบ่อยมีทั้งหมด 11 รูปแบบ คือ
1. คอมมิชชั่นตามผลงาน
การคิดค่าคอมมิชชั่นตามผลงาน จะไม่ได้วัดที่จำนวนยอดขายหรือการขายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคิดตามผลงานโดยรวมทั้งหมด เช่น จำนวนยอดขาย, ความพึงพอใจของลูกค้า, การปฏิบัติหน้าที่ โดยการคำนวณค่าคอมมิชชั่นตามผลงาน เช่น คอมมิชชั่น 5% เมื่อทำยอดขายได้ 200,000 บาท และปฏิบัติหน้าที่ได้ดี มีคะแนนความพึงพอใจในเชิงบวกจากลูกค้า จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5% = 10,000 บาท ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับธุรกิจด้านงานบริการ
2. คอมมิชชั่นจากกำไร
ระบบจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่พนักงานขายจะได้รับจากกำไรโดยไม่ได้คิดจากยอดขาย เช่น การขายสินค้าตามออเดอร์ที่มีจำนวนมากในครั้งเดียว การจ่ายคอมมิชชั่นรูปแบบนี้จึงมักเป็นการคิดเปอร์เซ็นต์จากกำไร ซึ่งอยู่ที่ 5%, 10%, 15% หรือ 20% ตัวอย่างการคิดค่าคอมมิชชั่น เช่น กำไรจากการขายสินค้า 50,000 บาท ค่าคอมมิชชั่น 10% ก็จะได้รับคอมมิชชั่น 5,000 บาท
3. คอมมิชชั่นแบบขั้นบันได
สำหรับ Commission แบบขั้นบันได พนักงานขายได้รับอัตราคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นตามระดับยอดขายหรือผลงาน เมื่อทำยอดขายได้สูงมากขึ้นเท่าไหร่ ระดับขั้นการจ่ายค่าคอมมิชชั่นก็สูงขึ้นตาม เช่น
- ยอดขายตั้งแต่ 0–100,000 บาท ค่าคอมมิชชั่นอยู่ที่ 5%
- ยอดขาย 100,001–200,000 บาท ค่าคอมมิชชั่นอยู่ที่ 10%
- ทำยอดขายได้เกิน 200,000 บาท ค่าคอมมิชชั่นอยู่ที่ 15%
4. คิดเฉพาะค่าคอมมิชชั่น
ค่าตอบแทนจากคอมมิชชั่นรูปแบบนี้จะเป็นการคิดเป็นจำนวนเงินตายตัว เช่น ขายได้ 1 ชิ้น ค่าคอมมิชชั่น 500 บาท ไม่ขึ้นกับราคาสินค้า และไม่ได้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่จะใช้กับพนักงานขายรูปแบบฟรีแลนซ์เพราะไม่มีฐานเงินเดือนหรือรายได้ประจำ
5. คอมมิชชั่นตามสินค้า
สำหรับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าคอมมิชชั่น ตามสินค้าโดยส่วนใหญ่จะใช้ในกลุ่มบริษัทที่มีสินค้าหลายประเภท โดยแต่ละประเภทสินค้าก็มีเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นแตกต่างกัน เช่น สินค้าในหมวด A หากขายได้จะได้รับค่าคอมมิชชั่นที่ 5% และจะได้รับคอมมิชชั่น 10% สำหรับกรณีที่ขายสินค้าในหมวด B ได้

6. คอมมิชชั่นส่วนต่างกำไร
ระบบการคิดคอมมิชชั่นรูปแบบนี้มาจากส่วนต่างของกำไรสินค้า ไม่ได้คิดจากยอดขาย โดยพนักงานขายจะได้เปอร์เซ็นต์จากส่วนต่างของกำไร เช่น คิดเป็น 10% จากส่วนต่างกำไรที่เกิดจากการขายได้ต่อครั้ง ส่วนใหญ่แล้วเป็นระบบที่ใช้ในกลุ่มธุรกิจที่ต้องการขายสินค้าที่มีกำไรสูง
7. คอมมิชชั่น + เงินเดือน
ระบบคอมมิชชั่นที่คิดจากผลงานการขายของพนักงาน โดยจะจ่ายให้เพิ่มจากฐานเงินเดือน เช่น ค่าคอมมิชชั่นเดือนละ 15% เมื่อคิดจากฐานเงินเดือน 25,000 บาท หากทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย เงินเดือนรวมคอมมิชชั่นก็จะเท่ากับ 25,000 + 15% = 28,750 บาท การคิดคอมมิชชั่นรูปแบบนี้อาจคิดร่วมกับรูปแบบขั้นบันไดได้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเร่งทำยอดขายให้ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ บริการรับทำเงินเดือนจาก HumanSoft สามารถคำนวณค่าคอมมิชชัน + เงินเดือนได้อย่างครบวงจร
8. คอมมิชชั่นตามพื้นที่รับผิดชอบ
เมื่อพนักงานขายสามารถปิดการขายกับลูกค้าใหม่หรือมียอดขายเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ก็จะได้รับค่าตอบแทนตามที่กำหนด เช่น พนักงานจะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากยอดขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตลาดพร้าว 5% รูปแบบนี้มักถูกใช้ในกลุ่มธุรกิจที่เติบโตเร็ว มีฐานลูกค้ากระจายตัว ทำให้พนักงานขายต้องเน้นขายเจาะในแต่ละพื้นที่มากขึ้น
9. คอมมิชชั่นต่อเนื่อง
พนักงานขายจะได้รับค่าคอมมิชชั่นต่อเนื่องทุกเดือน จากกรณีที่ลูกค้ารายเดิมยังคงใช้บริการหรือจ่ายเงินให้ตามรอบเดิม เช่น ระบบสมาชิก อาจคิดเป็น 10% ต่อการจ่ายค่าสมาชิกรายเดือน โดยพนักงานขายจะยังคงได้รับคอมมิชชั่นต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่าลูกค้าเดิมจะยกเลิกสัญญา
10. คอมมิชชั่นจากสินค้าพิเศษ
รูปแบบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าโปรโมชั่น หรือสินค้าพิเศษที่ต้องการขายให้ได้ในระยะเวลาที่จำกัด โดยบริษัทอาจเลือกจ่ายเพิ่มเติมให้เป็นกรณีพิเศษสำหรับพนักงานขายที่สามารถปิดการขายได้สำเร็จเท่านั้น
11. คอมมิชชั่นตามระยะเวลาทำงาน
การจ่ายค่าคอมมิชชั่นในรูปแบบนี้ จะคำนวณอัตราคอมมิชชั่นเพิ่มตามอายุงาน เช่น ทำงานปีแรกค่าคอมมิชชั่นเริ่มต้นที่ 5% เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 เพิ่มเป็น 7% และเพิ่มขึ้นอีกในปีถัดไป การคิดคอมมิชชั่นรูปแบบนี้เหมาะกับบริษัทที่ต้องการประสบการณ์การขายของพนักงาน ทั้งนี้ก็อาจต้องขึ้นอยู่กับผลงานของพนักงานในแต่ละปีร่วมด้วย

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนคิดค่าคอมมิชชั่น
ก่อนกำหนดรูปแบบหรือเปอร์เซ็นต์การจ่ายค่าคอมมิชชั่น เพื่อให้ระบบค่าตอบแทนมีประสิทธิภาพ และเกิดแรงจูงใจได้อย่างยั่งยืน บริษัทควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าคอมมิชชั่น ดังต่อไปนี้
- โครงสร้างชัดเจน : ระบุให้ชัดว่าคิดจากยอดขายหรือกำไร, คิดเป็นเปอร์เซ็นต์คงที่หรือแบบขั้นบันได
- ยุติธรรมกับพนักงาน : อัตราคอมมิชชั่นต้องมีความเป็นธรรม และต้องไม่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำภายในทีมขาย
- สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร : ระบบค่าคอมมิชชั่นควรส่งเสริมเป้าหมาย เช่น เพิ่มยอดสินค้าใหม่, รักษาฐานลูกค้า, ขยายฐานลูกค้า
- วัดผลได้ชัดเจน : มีระบบติดตามยอดขายหรือกิจกรรมขายที่โปร่งใส ตรวจสอบและวัดผลได้ เช่น ระบบ CRM
- กำหนดรอบจ่ายที่แน่นอน : ควรกำหนดรอบจ่ายที่ชัดเจน เช่น ทุกสิ้นเดือน, หลังลูกค้าจ่ายเงิน เพื่อลดข้อผิดพลาดและเพื่อแสดงถึงความยุติธรรมต่อพนักงาน

วัดผลการขายได้แม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพให้เซลส์ ด้วย SellStory ระบบ CRM & Sales Management
เพื่อจัดการกับระบบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับพนักงานขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยเก็บข้อมูล ติดตามงาน และสรุปผลได้อย่างแม่นยำ อย่างเช่น ระบบ CRM & Sales Management จาก SellStory ที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานของทีมขายโดยเฉพาะ ด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยบันทึกข้อมูลลูกค้าและยอดขายที่อัปเดตได้ทันทีที่ปิดการขาย พร้อมปรับแต่ง Job Card เพื่อบริหารจัดการทีมขายให้ทำงานได้ตามเป้าหมาย รวมถึงการแสดง Dashboard สรุปยอดแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ไม่พลาดทุกการจ่ายค่าคอมมิชชั่นสำหรับนักขายมือทองของคุณ!
สมัครใช้งานฟรี! วันนี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.095-371-7988